
เนื้อสัตว์จากห้องทดลองอาหารแห่งอนาคต
อาหารแห่งอนาคตเป็นเป้าหมายของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทำการวิจัยและพัฒนาการสร้าง เนื้อสัตว์ที่ไม่ได้มาจากการฆ่าสัตว์ แต่ถูกเลี้ยงให้เติบโตในห้องแล็บ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางอาหารของมนุษยชาติ บทความนี้จะมานำเสนอ Cultured Meat (เนื้อสัตว์จากห้องแล็บ) อาหารแห่งอนาคตจะเป็นอย่างไร ไอทีรอบรู้ จะพามาดูกันเลย

อาหารแห่งอนาคตคืออะไร
Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) มีชื่อเรียกอีกว่า Cultivated Meat, Lab-grown Meat, Cell-based Meat ทั้งหมดนี้หมายถึงเนื้อสัตว์ซึ่งมาจากเซลล์สัตว์ที่ถูกเลี้ยงโดยสารอาหารต่าง ๆ เพื่อให้เซลล์เกิดการแบ่งตัว และเปลี่ยนแปลงจนเป็นเนื้อสัตว์ จะมีคุณสมบัติเหมือนเนื้อสัตว์ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าไม่ต้องฆ่าสัตว์เพื่อนำเนื้อมาบริโภค อ้างอิงจากการวิจัยของ Polaris Market คาดการณ์ว่า ตลาดโลกสำหรับ Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) ภายในปี 2030 จะมีค่าสูงแตะ 499.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับวิธีการสร้างเนื้อก่อนอื่นต้องรับสเต็มเซลล์ (Stem Cells) มาจากสัตว์ และเลี้ยงมันในถังปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactors) จากนั้นเลี้ยงเซลล์เหล่านี้ด้วยอาหารที่มีออกซิเจนสูงและมีสารอาหารที่จำเป็น เช่น กรดอะมิโน กลูโคส วิตามิน เกลือแร่และโปรตีน เซลล์จะเกิดการเปลี่ยนแปลง (Differentiation) เป็นกล้ามเนื้อ ไขมัน และเนื้อเยื่อและในที่สุดก็เป็นเนื้อสัตว์ ตัวอย่างบริษัทที่ทำ Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) ได้แก่ Mosa Meat, Aleph Farms, Shiok Meats และ Biftek

อาหารแห่งอนาคตดีอย่างไร
1. มีการปนเปื้อนน้อยกว่า
2. มียาปฏิชีวนะ (Antibiotics) น้อยกว่า
3. กระทบสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า
4. ดีต่อสัตว์มากกว่า

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอาหารแห่งอนาคต
1. การออกแบบ (Bioprocess) เป็นกระบวนการในการสร้างผลิตภัณฑ์จากเซลล์ที่มีชีวิตและองค์ประกอบต่าง ๆ ของมัน
2. วิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue engineering) ใช้สำหรับการสร้าง Cultured Meat (เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง) โดยให้มีความเหมือนเนื้อจริงทั้งรสสัมผัสและรสชาติ รวมถึงการสกัดเอาสเต็มเซลล์ (Stem Cells) ออกมาและสร้าง Cell Lines (เซลล์ที่มีความคงตัวในด้านพันธุกรรม และไม่สามารถพัฒนาเป็นตัวเต็มวัยได้)
3. การเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ 3 มิติ (Scaffolding) เป็นการเพาะเลี้ยงเซลล์แบบ 3 มิติ (Scaffolding) คือ การสร้างสภาพแวดล้อมเทียมภายในภาชนะเลี้ยงเซลล์ ให้คล้ายกับการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกายที่เซลล์เจริญเติบโตแบบสามมิติส่วนใหญ่ Scaffolding จะผลิตจากชีววัสดุจากธรรมชาติ เช่น คอลลาเจน เจลาติน เป็นต้น

เรารู้หรือไม่ว่าทุก ๆ 100 กิโลแคลอรี่ของอาหารที่ให้วัว 1 ตัว เราจะได้เนื้อวัวเพียง 2 กิโลแคลอรี่กลับมาเท่านั้น อีก 98% จะหายไปจากการสร้างเนื้อวัว แต่สำหรับแกะนั้น 96% จะใช้ไปกับการสร้างเนื้อแกะ สำหรับเนื้อหมูจะใช้ 91% และสำหรับสัตว์ปีกจะใช้ไป 87% เลยทีเดียว ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการกินเนื้อสัตว์น้อยลง เท่ากับลดการสูญเสียพลังงาน เราจะสามารถเลี้ยงมนุษย์ได้มากขึ้น ลดปริมาณที่ดินที่ใช้ไปกับการเลี้ยงสัตว์ และลดการใช้ทรัพยากรได้มหาศาล ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มนุษย์จึงได้ทำการค้นหาวิธีการอื่นในการได้มาซึ่งเนื้อสัตว์ ที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า คุ้มค่ากับพลังงานมากกว่าจึงเป็นหนึ่งในวิธีที่คิดค้น Cultured Meat หรือเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงเป็นอาหารแห่งอนาคตขึ้นมา