ไครโอนิกส์ (Cryonics) กับการแช่แข็งของตัวเอง เพื่อกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

by itropru
288 views
ไครโอนิกส์

ไครโอนิกส์ (Cryonics) กับการแช่แข็งของตัวเอง เพื่อกลับมามีชีวิตอีกครั้ง

ไครโอนิกส์ (Cryonics) กับการแช่แข็งของตัวเอง เพื่อกลับมามีชีวิตอีกครั้ง เคยได้ยินไหมคะว่า “ไครโอนิกส์ คือ ความหวังในการตื่นจากความตาย” ดังนั้นอย่ารอช้า บทความนี้จะพามารู้จักกับเรื่องนี้ ไอทีรอบรู้ จะพามาดูกันเลยค่ะ

ไครโอนิกส์ (Cryonics) คืออะไร

ไครโอนิกส์ (Cryonics) คือ กระบวนการหรือวิธีการในการแช่แข็งร่างของสิ่งมีชีวิตที่เสียชีวิตไปแล้ว สามารถคงสภาพเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายได้เป็นระยะเวลานาน จุดมุ่งหมายของไครโอนิกส์ (Cryonics) คือ การเก็บรักษาสภาพร่างกายไว้จนกว่าวิทยาการทางการแพทย์ในอนาคตจะสามารถรักษา และฟื้นคืนชีพร่างนั้นได้ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ชีวิตสามารถหยุดและเริ่มต้นใหม่ได้ เพราะในปัจจุบันเอ็มบริโอของมนุษย์ถูกเก็บรักษาไว้ในอุณหภูมิที่สามารถหยุดสารเคมีในเซลล์เอาไว้ได้เป็นปี ๆ ในอุณหภูมิที่หยุดการทำงานของหัวใจ สมองและอวัยวะอื่น ๆ และชีวิตสามารถถูกหยุดและเริ่มต้นใหม่ได้หากโครงสร้างเซลล์และสารเคมีในเซลล์ได้ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี
  1. การแช่แข็งตัวอ่อนแบบผลึกแก้ว (Vitrification) สามารถเก็บรักษาโครงสร้างทางชีววิทยาได้เป็นอย่างดี เพราะ Vitrification คือ การแช่แข็งในอุณหภูมิต่ำกว่า -120 องศาเซลเซียสโดยปราศจากการเกิดผลึกน้ำแข็ง การใส่ Cryoprotectants (สารที่ใช้ในการปกป้องเนื้อเยื่อชีวภาพไม่ให้ถูกการแช่แข็งทำลาย) ความเข้มข้นสูงเข้าไปในเซลล์ สามารถทำให้เนื้อเยื่อเย็นตัวลงได้ โดยเกิดเป็นน้ำแข็งเพียงเล็กน้อย (หรือไม่เกิดเลย) และสิ่งนี้คือความเป็นไปได้ในการแช่แข็งแบบผลึกแก้วในอวัยวะใหญ่ ๆ เช่น สมองมนุษย์โดยปราศจากการแช่เยือกแข็ง (Freezing) วิธีนี้เป็นวิธีการยอดเยี่ยมในการเก็บรักษาสมองมนุษย์เอาไว้
  2. การซ่อมแซมโครงสร้างในระดับโมเลกุลได้ การเกิดขึ้นของ Nanotechnology จะนำไปสู่เครื่องมือในการซ่อมแซม และฟื้นฟูเนื้อเยื่อ ซึ่งรวมไปถึงการซ่อมแซมเซลล์ และโมเลกุลด้วย และตามทฤษฎีแล้ว Nanomedicine ในอนาคตนี้จะสามารถซ่อมแซม และเก็บรักษาโครงสร้างสมองได้ รวมถึงการเข้ารหัสความทรงจำและอุปนิสัย

กระบวนการทำไครโอนิกส์ (Cryonics)

  1. เมื่อผู้ที่ได้ทำข้อตกลงให้ร่างกายถูกเก็บไว้โดยวิธีการไครออนิกส์ (Cryonics) ได้เสียชีวิตลง ทีมแพทย์จะทำการแช่ร่างกายด้วยน้ำแข็งและน้ำเย็นและทำให้เนื้อเยื่อร่างกายยังได้รับออกซิเจนอยู่ผ่านการ CPR และการใช้หน้ากากออกซิเจน 
  2. ร่างกายที่แช่เย็นด้วยน้ำแข็งจะถูกเคลื่อนย้ายไปใส่ไว้ในตู้คอนเทนเนอร์ที่ปิดมิดชิดเพื่อส่งไปยังฝ่ายไครโอนิกส์ (Cryonics) 
  3. ทีมไครโอนิกส์จะนำร่างกายไปใส่ไว้ในเครื่องจักที่คล้ายกับเครื่องหัวใจและปอดเทียม (heart-lung bypass) เพื่อหมุนเวียนเลือดและรักษาระดับออกซิเจน 
  4. จากนั้นจะทำการปั๊มสารละลาย Vitrification ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารป้องกันการแข็งตัวเข้าไป เป็นการป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อร่างกายเปลี่ยนเป็นผลึกน้ำแข็ง
  5. ต่อมาจะทำการลดอุณหภูมิไปที่ -196 องศาเซลเซียสอย่างช้า ๆ โดยการใช้ไนโตรเจนเหลว
  6. เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิที่พอเหมาะแล้ว จะถูกเคลื่อนย้ายไปยังถังที่มีไนโตรเจนเหลวอยู่ คือการที่ร่างกายจะต้องอยู่ไปตลอด จนกว่าวิทยาการทางการแพทย์จะก้าวหน้าพอที่จะนำร่างนั้นกลับคืนสู่ชีวิตอีกครั้งได้

บทความที่คล้ายกัน

Leave a Comment