
ITIL จำเป็นต่อบริษัท
ITIL (ไอทีไอแอล) หรือ Information Technology Infrastructure Library ถูกพัฒนาโดย OGC (Office for Government Commerce) พัฒนาร่วมกับ BSI (British Standard Institute) เป็นมาตรฐานการจัดการกระบวนการบริหารงานบริการด้านสารสนเทศ IT Service Management ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เนื่องจาก ITIL ช่วยในการจัดการบริการด้านไอที จึงเป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ และบทบาท ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการทางไอที วันนี้ ไอทีรอบรู้ จะพามาดู

ประโยชน์ของ ITIL
ITIL จัดว่าเป็นการรวบรวมเอาความรู้ที่มีอยู่แล้วในการบริหารจัดการศูนย์ ฯ ซึ่งได้ถูกนำไปใช้แล้วในวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ IT (ไอที) ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา ITIL จึงถูกเรียกว่าเป็น Best Practice ของการบริหารจัดการ IT (ไอที) ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการกล่าวถึง ไอทีไอแอล ในแง่ที่เป็น IT Service Management Framework กันอย่างแพร่หลาย ในปัจจุบัน ประโยชน์จากการนำความรู้ ITIL มาใช้นั้น คือ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่สามารถปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้นมีประสิทธิภาพมาก ซึ่งได้แก่
- การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้คุ้มค่ามากขึ้น
- สร้างเสริมความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด
- ช่วยลดงานซ้ำซ้อนหรืองานที่ไม่จำเป็นลงได้
- ช่วยทำให้งานแต่ละโปรเจคท์ดำเนินไปได้ตามที่วางแผนไว้
- ปรับปรุงความสามารถในการให้บริการ IT (ไอที) แก่ลูกค้าให้ดีขึ้น
ITIL เป็นมาตรฐานสากลสำหรับการจัดการบริการด้านไอที ได้รับการพัฒนาในสหราชอาณาจักรและกลายเป็นมาตรฐานสากลในปี 2541 ก่อนหน้านี้ ITIL ถูกใช้งานหลัก ๆ ในภาคเอกชน และมีเป้าหมายเพื่อให้มีความต่อเนื่องในการดำเนินงานทางธุรกิจแก่เครือข่ายองค์กร อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งภายในและภายนอกในวงการไอที เนื่องจากมีความปลอดภัยของข้อมูลที่สูง นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการแบ่งแยกหน้าที่ระหว่างสายงานธุรกิจและทีมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือข้ามสายงานระหว่างแผนกต่างๆ มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่องค์กรไอทีใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
โครงสร้างของ ITIL (ไอทีไอแอล)
โครงสร้างของ ITIL (ไอทีไอแอล) มีส่วนประกอบหลัก 5 ส่วน ดังนี้
- กลยุทธ์ด้านการบริการ SS : Service Strategy เป็นพื้นฐานในการกำหนด และบริหารนโยบายแนวทางปฏิบัติ
- การออกแบบงานบริการ SD : Service Design เน้นการออกแบบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น ในการะบวนการให้บริการรวมทั้ง การพัฒนากลยุทธ์ และวิธีการบริหารจัดการระบบบริการ
- การส่งมอบงานบริการ ST : Service Transition เน้นที่การดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการบริการที่ดีที่สุดเป็นบริการที่ส่งมอบเพื่อนำไปใช้ในระบบปฏิบัติงาน
- การปฏิบัติงานบริการ SO : Service Operation เน้นไปทางด้านกิจกรรมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการดูแลรักษาหน้าที่การทำงานหรือบริการ
- การพัฒนางานด้านบริการ CSI : Continual Service Improvement เน้นที่ขีดความสามารถ ที่ทำให้เกิดขีดความสามารถในการปรับปรุงการให้บริการที่มีคุณภาพอยู่แล้ว
การบริหารจัดการด้วย ITIL เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการลงทุนไม่ใช่น้อย นับตั้งแต่การให้การศึกษาแก่บุคคลากรในองค์กร รวมถึงการนำ ไอทีไอแอล เข้ามาใช้ในองค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งอาจหมายถึงการจัดซื้อจัดหาเครื่องมือซอฟต์แวร์ ที่จะใช้ช่วยในการจัดทำแต่ละกระบวนการ และอาจรวมถึงการจ้างที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการ มาเป็นผู้ริเริ่มจัดทำกับบุคคลากรของหน่วยงานไปด้วยกัน
