
ทำไม “บลูทูธ” ยังได้รับความนิยมอยู่เสมอ
“บลูทูธ” (Bluetooth) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่อยู่คู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาอย่างยาวนานกว่า 2 ทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโทรศัพท์มือถือ มีมาตั้งแต่สมัยที่มือถือเป็นจอขาวดำสู่รุ่นฝาพับ จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เป็นยุคสมาร์ทโฟนก็ยังคงมีเทคโนโลยีนี้อยู่คู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ วันนี้ ไอทีรอบรู้ จะพาไปดูกันเลย

ชื่อบลูทูธมาจากไหน
เนื่องจากในปี 2539 ผู้นำเทคโนโลยีในขณะนั้นของสแกนดิเนเวีย ได้แก่ Intel, Ericsson และ Nokia 0y[,nvวางแผนสร้างมาตรฐานการรับส่งข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุระยะสั้น เพื่อเชื่อมต่อการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ส่วนที่มาของชื่อนั้น เป็นการตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าฮารัลด์ บลูทูธ กอล์มสัน กษัตริย์แห่งเดนมาร์ และนอร์เวย์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งแถบสแกนดิเนเวีย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำด้านการผลิตโทรศัพท์มือถือป้อนสู่ตลาดโลก และเป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีนี้ ส่วนสัญลักษณ์นั้นมาจากการรวมตัวอักษร “ยังเกอร์ ฟูทาร์ก” หรือ อักษรรูนโบราณของสแกนดิเนเวียเข้าด้วยกัน ซึ่งก็มาจากคำว่าบลูทูธนั่นเอง

ปัญหาของบลูทูธ
จุดเด่นของบลูทูธคือ ใช้พลังงานต่ำ ไม่กินแบตเตอรี และมีอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิดอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือมีระยะเชื่อมต่อสั้น เพียง 5-100 เมตรเท่านั้น นับว่าเป็นเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระยะใกล้ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยกัน ใช้ความถี่คลื่นวิทยุย่าน 2.4 กิกะเฮิรตซ์ (GHz.) อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ข้อเสียคือถ้าจับคู่กับอุปกรณ์ใดแล้วจะไม่สามารถไปใช้กับอุปกรณ์อื่นได้อีก ต้องเสียเวลาในการยกเลิกการจับคู่กับอุปกรณ์เดิมก่อนถึงจะจับคู่ใหม่ได้ สัญญาณจะเดินทางผ่านคลื่นวิทยุที่ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต ดังนั้นทุกคนจึงสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแตกต่างจากไวไฟ หรือ คลื่นวิทยุอื่น ๆ ที่บริษัทเอกชนได้รับใบอนุญาตเพื่อพัฒนาคลื่นความถี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น AIS หรือ True แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายหรือค่าบริการรายเดือนนั่นเอง
การใช้คลื่นวิทยุที่ทุกคนเข้าถึงได้ ทำให้ต้องแชร์คลื่นความถี่กับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้คลื่นวิทยุประเภทเดียวกัน อาจทำให้เกิดการรบกวนและขัดขวางประสิทธิภาพการทำงานของบลูทูธได้

ทำไมใคร ๆ ยังใช้บลูทูธ
เพราะบลูทูธใช้ต้นทุนน้อยหรือแทบไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไรเลย ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ และผู้บริโภคยังคงนิยมเทคโนโลยีนี้ต่อไป เช่น บริษัท Apple ที่เลิกใช้หูฟังแบบสายแล้วเปิดตัว AirPods หูฟังไร้สายแทนที่ใช้บลูทูธเชื่อมต่อแทน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ก็ได้ทยอยเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันออกมาเรื่อย ๆ หรือแม้กระทั่ง Apple Pencil ก็ยังใช้การเชื่อมต่อด้วยบลูทูธเช่นกัน
ถึงแม้ว่าบลูทูธจะมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้าง แต่ก็ยังสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IT หรืออุปกรณ์ Smart Devices ยังคงต้องพึ่งพาการเชื่อมต่อผ่านระบบนี้ถึงอาจจะไม่ใช่เทคโนโลยีที่ดีที่สุด แต่จะทำหน้าที่เป็นเหมือนกาวที่เชื่อมต่อทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกัน